หลักสูตร เทคนิคการทำงานข้ามสายงานอย่างมีประสิทธิภาพ

(Cross Functional Collaboration Techniques)

ภายใต้สภาพแวดล้อมปัจจุบันของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นทุกวัน องค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากคนทำงานทุกหน่วยงาน เพื่อให้งานของหน่วยงานมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กร โดยเฉพาะองค์กรสมัยใหม่ที่มีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ร่วมกันในการทำงาน การทำงานเป็นทีมให้เป็นหนึ่งเดียวกันต้องใช้กระบวนการในการสื่อสารถ่ายทอดข้อมูล แนวคิด เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน มุ่งเน้นการทำงานการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และผนึกกำลังเดินหน้าไปด้วยกัน เกิดการประสานงานที่ดี (Coordinator) สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกันจะทำให้ทีมงานมีเป้าหมายดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดไม่ว่าจะในส่วนงานเดียวกันหรือข้ามสายงาน (Cross functional team)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ทราบถึงแนวทาง การกำหนดประเด็นปัญหา ขอบเขตและความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบของปัญหา สาเหตุและผลกระทบ และเข้าใจวิธีการของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
  2. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน มุ่งเน้นการทำงานการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และผนึกกำลังเดินหน้าไปด้วยกัน เกิดการประสานงานที่ดี เพื่อผลักดันผลสำเร็จของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
  3. เพื่อให้เข้าใจแนวคิดและวิธีการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยการนำปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานมาฝึกปฏิบัติและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แก้ปัญหา

พัฒนา

  • ขาดการประสานงานและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  • ขาดทักษะในการสื่อสารกับทีมงานทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ส่งผลให้งานไม่ประสบความสำเร็จ
  • ขาดทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและสามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
  • สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกันจะทำให้ทีมงานมีเป้าหมายดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดไม่ว่าจะในส่วนงานเดียวกันหรือข้ามสายงาน (Cross functional team)
  • เกิดแรงจูงใจในการทำงาน รวมทั้งการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อหน่วยงานต่อไปในอนาคต 
  • กระบวนการแก้ไขปัญหาในงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆอย่างเป็นระบบ

รูปแบบการฝึกอบรม

  • บรรยาย และยกตัวอย่างประกอบเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจหลักการการแก้ไขปัญหาร่วมกันข้ามสายงาน
  • การแลกเปลี่ยนแนวคิด และประสบการณ์ ด้วย Case Study และ Discussion
  • ประยุกต์หลักการและแนวคิดผ่านการระดมสมอง และ Workshop

หัวข้อการบรรยาย/กิจกรรม

No

Topic

Objective

Key Content

1.

Project Overview

  • เปิดการฝึกอบรม

แนะนำหลักสูตร วิทยากรและความคาดหวังของหลักสูตร

กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ 

  • กิจกรรมส่งเสริมให้กล้าแสดงออก สร้าง ความสนิทสนมให้รู้จักกันมาก ปรับทัศนคติ เพื่อที่จะเข้าสู่แนวคิดความสำคัญของ การทำงานข้ามสายงานและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

กิจกรรมทักทาย สวัสดีนานาชาติ กิจกรรมคนแบบไหนที่องค์กรต้องการ เป็นต้น

2.

ทัศนคติเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน

  • พัฒนาทัศนคติเชิงบวกในงานบริการ เพื่อเสริมสร้างด้านดี ด้านเก่ง และด้านที่มีความสุข ในการทำงานข้ามสายงานและร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหา
  • การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่กระทบกับชีวิตคนทำงาน
  • เข้าใจธรรมชาติและความคาดหวังของลูกค้าสมัยใหม่
  • Workshop : EQ เพื่อสร้างโอกาสและสร้างความสุขในงานบริการ

3.

หลักพื้นฐานของการสื่อสารข้ามสายงาน

  • สามารถแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาบุคลิกภาพ และทักษะการสื่อสารของตนเอง โดยทำให้เกิดการประสานงานและการทำงานข้ามสายงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ
  • ปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสารข้ามสายงานที่มักเกิดขึ้น
  • หลักพื้นฐานของการสื่อสารข้ามสายงาน
  • บุคลิกภาพและสไตล์การสื่อสารกับการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ

4.

เทคนิคการสื่อสารข้ามสายงาน

  • เรียนรู้เครื่องมือและวิธีการสื่อสารข้ามสายงานอย่างมีประสิทธิผล
  • เทคนิคการสื่อสารเพื่อการบริการและการประสานงานที่ดี
  • เทคนิคการทำงานข้ามสายงาน…ให้ได้ทั้งงานและได้ทั้งใจ
  • พฤติกรรมที่พึงกระทำ (Do) และไม่พึงกระทำ (Don’t) ในการสื่อสารและการทำงานข้ามสายงาน

5.

Team Synergy กระบวนการสร้างทีมเพื่อความยั่งยืน

  • เข้าใจแนวทางการทำงานร่วมกัน เสริมสร้างความแข็งแกร่งของการทำงานข้ามสายงานต่างๆ ในองค์กร
  • กิจกรรม “อกเขา อกเรา” การฝึกมองภาพการทำงานทั้งระบบ เพื่อปรับใช้ในการทำงาน และแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในทีมงาน

หมายเหตุ : เนื้อหาและกิจกรรมการฝึกอบรมมุ่งเน้น Activity based Learning 

วิทยากร

อาจารย์ธนเดช ทิพยอภิชยากุล

วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการพัฒนาศักยภาพผู้นำรุ่นใหม่และการ บริหารผลงานเชิงกลยุทธ์

การประเมินผล

  • ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้เรียน โดยใช้แบบประเมินวัดความพึงพอใจ
  • ประเมินผลการเรียนรู้ (Learning) แบบบูรณาการผ่านการนำเสนอผลงานตาม Job Assignment

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม

  • พนักงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน  
  • รุ่นละไม่เกิน  30 ท่าน

ระยะเวลา 1 วัน

  • เวลา 09.00 – 16.00 น.

อ.ธนเดช ทิพยอภิชยากุล

Thanadech Tipayapichayakul


วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการพัฒนาศักยภาพผู้นารุ่นใหม่และการพัฒนาระบบบริหารผลงานเชิงกลยุทธ

: 095-778-8497

: tanadech.h@gmail.com

: www.ultimateleader.co.th

หัวข้อ
หัวข้อ